ประกาศใช้แล้ว "กม.เก็บภาษีอีเซอร์วิส" เริ่มบังคับใช้ 1 กันยายน 2564

ประกาศใช้แล้ว ‘กม.เก็บภาษีอีเซอร์วิส เริ่มบังคับใช้ 1 กันยายน 2564


เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2567 ซึ่งจะเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทยจาก เช่น Facebook, Google, Youtube, Netflix โดย พ.ร.บ. จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับรายรับหรือการจ่ายเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ 7 ถัดจากเดือนที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือในวันที่ 1 กันยายน 2564


ทำไมต้องมีกฎหมาย พรบ. อีเซอร์วิส นี้

เนื่องจากขณะนี้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นข้อจำกัดทั้งจากกฎหมายภายในและตามอนุสัญญาภาษีซ้อน แต่เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้นรูปแบบการให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้ามประเทศทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และเป็นเรื่องที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะต้องการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศที่ต้องเสียภาษี โดยขณะนี้มีประเทศที่บังคับใช้กฎหมายแล้วกว่า 60 ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น จึงต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัล


กฎหมายบังคับใช้อย่างไร

เมื่อถึงกำหนดที่กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กันยายน 2564 ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้

1. จะมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขายโดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

 ทั้งนี้ก่อนหน้าที่กฎหมายนี้จะออกมากรมสรรพากรได้มีการพูดคุยกับผู้ให้บริการจากต่างประเทศแล้วซึ่งหลายราย ซึ่งผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีความพร้อมและยินดีปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งกรมสรรพากรจะอำนวยความสะดวกโดยการให้ผู้ให้บริการจากต่างประเทศยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทาง online ได้


ผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ

กรณีผู้ใช้บริการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว กฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่าให้ผู้ใช้บริการในประเทศมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีแทนผู้ให้บริการ โดยยื่นแบบ ภพ 36 อยู่แล้ว ก็ยังคงต้องปฏิบัติเช่นเดิม ไม่มีผลกระทบอย่างไรต่อการแก้ไขกฎหมายนี้

กรณีผู้ใช้บริการเป็นไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน อาจเกิดการผลักภาระภาษีที่เกิดขึ้นให้ผู้บริโภคในไทยเป็นผู้รับผิดชอบ ตามหลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บภาษีจากผู้ใช้บริการคนสุดท้าย (End user) จึงอาจมีการเพิ่มมูลค่าเงินที่ต้องชำระแก่ผู้ให้บริการโดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจของผู้ให้บริการ e-Service หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศแต่ละราย

อย่างไรเมื่อกฎหมายเริ่มบังคับใช้ ต้องคอยดูผลกระทบในการปฏิบัติตามกฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการต่อไป


บริษัท แอ็คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์ จำกัด
096-2974566
Mon - Fri: 09.00 - 17.30
Park Silom ชั้น 14 ห้อง 1406 1 ถนน คอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ติดตามข่าวสาร