[รีวิว] ซีรี่ย์ Start-up "Vesting"

"Vesting" 

ผ่านไปแล้วนะคะสำหรับ EP. 13 ทีมซัมซานเทคพักร้อนหลังจากจบโปรเจคใหญ่ กลับมาเกาหลี วันนี้มีเกร็ดความรู้จาก EP. 13 นี้มาฝากนะคะ

ใน EP. 13 นี้หนุ่มซัมซานเทคทำงานครบ 3 ปีตามสัญญาลงทุนของทุสโทแล้ว แต่ทางทุสโทก็มีข้อเสนอดีๆที่เรียกว่า "Vesting" มาเพื่อเชิญชวนให้ทำงานกับทุสโทต่อ Vesting ที่ว่านี้คืออะไร มาติดตามกันนะคะ

Vesting คือรูปแบบหนึ่งของการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ (Share based payment) เพื่อการให้หุ้นแก่พนักงานตอบแทนการทำงาน โดยการโอนหุ้นให้พนักงานตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน พนักงานก็จะมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทตามหุ้นที่ได้รับ การที่บริษัทเติบโตขึ้นในอนาคตมูลค่าหุ้นของบริษัทสูงขึ้นก็จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นที่พนักงานถือไว้สูงขึ้นด้วย การเติบโตของบริษัทก็จะหมายถึงความสำเร็จของพนักงานไปด้วย วิธีนี้ส่งเสริมความมีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจร่วมกันระหว่างบริษัทและพนักงานและความผูกพันกับบริษัท ซึ่งจะใช้กับพนักงานที่มี ความสามารถหรือทักษะที่จำเป็นกับการเติบโตของบริษัทในอนาคต

โดยส่วนใหญ่แล้วการให้ Vesting ก็จะให้หุ้นเมื่อพนักงานทำงานครบระยะเวลาหรือผลงานที่บรรลุผลตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของการทยอยให้หุ้น หรือให้ครั้งเดียวเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด กรณีนี้ ทีมงานของนัมโดซานทำงานกับทุสโทครบ 3 ปีแล้ว การเสนอ Vesting ให้ก็จะเป็นข้อผูกพัน ให้ทำงานกับกับทุสโทต่อไปในอนาคต แต่ทำไมทีมงานของนัมโดซานถึงลังเลว่าจะรับดีหรือไม่ทั้งที่เป็นจำนวนเงินที่มากขนาดนั้นและน่าจะดีต่ออนาคต เล่ามาถึงตอนนี้เหมือนการทำ Vesting จะมีแต่ข้อดี หากเราอยากจะทำ Vesting บ้างมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

1.การให้ Vesting นั้นกับเงื่อนไขทางกฎหมายแต่ละประเทศให้ทำได้หรือไม่ เพราะคือการที่บริษัทต้องออกหุ้นให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานกับบริษัท ดังนั้นต้องตรวจสอบกฎหมายเกี่ยวกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนและการออกหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นใหม่โดยตรงเพื่อตอบแทนการทำงานว่าทำได้หรือไม่

2.ในมุมพนักงานที่ได้รับหุ้น ตอบแทน ถือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่มที่อาจคำนวณได้ ทางภาษี ต้องคำนึงถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นจาก Vesting ด้วย มิฉะนั้นเมื่อได้รับหุ้นเป็นประโยชน์ก็จริงแต่อาจต้องถือไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งตามข้อตกลงในการห้ามขาย ดังนั้น พนักงานที่ได้รับอาจต้องเตรียมจัดหาเงินสดจากแหล่งอื่นมาเพื่อชำระภาษีด้วย

3.ในมุมของบริษัทการออกแบบกระบวนการ Vesting นั้น จะต้องประเมินถึงกระบวนการตั้งแต่ ทำข้อตกลง Vesting การออกหุ้นให้ รวมถึงการซื้อหุ้นคืนในกรณีที่พนักงานที่ได้รับ Vesting ไม่ทำงานกับบริษัทต่อแล้ว หุ้นที่ซื้อคืนนี้จะถือครองโดยใคร วิธีที่เป็นสากลคือ การมี Treasure Stock ของบริษัท ซึ่งต้องตรวจสอบว่ากฎหมายธุรกิจแต่ละประเทศให้ทำได้หรือไม่

4.การออกหุ้นให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานนั้น เสมือนว่าบริษัทได้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานด้วยหุ้น ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินบริษัทอาจต้องรับรู้รายจ่ายของค่าตอบแทนนี้ในงบการเงินด้วย ซึ่งต้องตรวจสอบมาตรฐานรายงานทางการเงินที่กิจการปฏิบัติและถือใช้

โดยรวมแล้วการให้หุ้นแก่พนักงานเป็นสิ่งที่ดี ส่งเสริมให้พนักงานเติบโตร่วมกับบริษัทในระยะยาว แต่หากจะนำมาปรับใช้ต้องศึกษาถึงกฎหมายธุรกิจแต่ละประเทศว่าทำได้หรือไม่ กระบวนการทางสัญญาที่ต้องรัดกุม ภาระภาษีที่เกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบต่องบการเงินจากการดำเนินการตามโครงการ Vesting ด้วย เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ดังนั้นการออกแบบต้องมีศึกษาอย่างรอบด้าน หรือหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลเพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นใจนะคะ

บริษัท แอ็คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์ จำกัด
096-2974566
Mon - Fri: 09.00 - 17.30
Park Silom ชั้น 14 ห้อง 1406 1 ถนน คอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ติดตามข่าวสาร