[รีวิว] ซีรี่ย์ Start-up "Deal Structure"

"Deal Structure"

ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วที่ซัมซานเทคเกิดเหตุการณ์ที่ทุสโทเข้าซื้อกิจการด้วยวิธีซื้อหุ้นทั้งหมด ปลดผู้บริหารและ Designer ออก ทำการยุบทีม เพื่อได้มาซึ่ง Core Technology คือนักพัฒนาไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ เป็นวิกฤตที่ทีมซัมซานเทคไม่คาดคิดมาก่อน จนทำให้ทีมแตก แต่ละคนต้องแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเองใน EP 12 นี้

แต่ช้าก่อนเหตุการณ์เหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น ถ้าวันนั้น หัวหน้าฮันห้ามการลงนามในสัญญาได้ทัน เราลองมาดูกันว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ซัมซานเทคและหัวหน้าฮัน จะร่วมมือกันจัดการเรื่องนี้อย่างไรดี

1.ทำความเข้าใจแผนงานของนักลงทุน โดยทั่วไป บริษัทที่จัดการการลงทุน Venture Capital: VC มีหลายประเภททั้ง Fianancial VC ที่ต้องการผลตอบแทนในการลงทุนในรูปของตัวเงินเป็นหลัก ต่างจาก Corporate VC : CVC ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจด้านการลงทุนที่ทำงานเชิงกลยุทธ์ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate) ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการลงทุนของนักลงทุนแต่ละแบบย่อมมีความคาดหวังต่างกัน เราต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าแผนงานของนักลงทุนเป็นไปในแนวทางเดียวกับ Mission ของธุรกิจของเราที่จะดำเนินไปในอนาคต เงินแม้จะเป็นสิ่งสำคัญแต่ทิศทางของธุรกิจสำคัญกว่า

2. หาที่ปรึกษาที่เข้าใจธุรกิจด้านการลงทุน และธุรกิจของเราซึ่งเคสนี้ ควรให้หัวหน้าฮัน เป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาช่วยสอบทานข้อตกลงต่างๆ และสัญญาอีกครั้ง ทำความเข้าใจ เนื้อหาของสัญญาและสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหลังลงนามในสัญญา ข้อผูกมัด ภาระผูกพันที่มีในสัญญาทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือเป็นสิ่งที่ห้ามทำ หรือต้องทำ และอะไรที่เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจที่ต้องปกป้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจที่มีนัยสำคัญ อย่างเคสนี้

3. หัวหน้าฮันอาจให้คำแนะนำว่าการขายหุ้น อาจไม่จำเป็นต้องขายทั้งหมดจนสูญเสียการควบคุม แม้ว่าเงิน 3,000 ล้านวอน จะเป็นจำนวนที่มากสำหรับธุรกิจที่ยังไม่มีรูปแบบรายได้ที่ชัดเจน แต่การขายหุ้นนั้นไม่จำเป็นต้องขายทั้งหมด ทีมงานซัมซานเทคสามารถเจรจาให้คงเหลือไว้ในอัตราส่วนหุ้นที่สำคัญเพื่อป้องกันการกระทำที่มีผลกระทบค่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ถ้าตามกฎหมายไทย ควรคงเหลือไว้อย่างน้อยร้อยละ 26 (เกิน 1ใน 4) ก็จะทำให้การโหวตเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจ การระดมทุน ลดทุน หรือเลิกบริษัทซึ่งต้องใช้เสียงเกิน 3 ใน 4 ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยก่อนทุกครั้ง ก็จะทำให้สามารถใช้สิทธิคัดค้านตามที่กฎหมายคุ้มครองไว้ได้

4.การเจรจาต่อรองสัญญากรณีนี้ถ้าทีมคือหัวใจของธุรกิจหรือถ้ามีหัวข้ออื่นๆที่สำคัญ การระบุข้อตกลงที่ต้องได้รับความเห็นชอบก่อน (Reserved matters) ไว้ในสัญญาเพิ่มเติมจากที่กฎหมายให้การคุ้มครองไว้ การกระทำเหล่านี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยก่อน จึงจะทำได้

5.สัญญาระหว่างทุสโทซื้อหุ้นซัมซานเทคกำหนดค่าปรับในการบอกเลิกสัญญาสูงถึง 2 เท่า หากคู่สัญญาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ค่าปรับจะป็นตัวบังคับให้ Startup แม้จะรู้ว่าพลาดก็ไม่อาจบอกเลิกได้เพราะต้องชำระค่าปรับที่สูงมากๆ ดังนั้นควรเจรจาเงื่อนไขการบอกเลิกให้ค่าปรับเป็นจำนวนที่ยอมรับได้

6.กรณีขายหุ้นที่มีอยู่เดิม ผู้ถือหุ้นต้องชำระภาษีจากเงินได้ และเมื่อหักค่าจ้างล่วงหน้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาไปแล้ว กรณีที่อัตราภาษีบุคคลเป็นอัตราก้าวหน้า ตามหลักความสามารถในการเสียภาษี เมื่อมีเงินได้สูง ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงไปด้วย ผู้ถือหุ้นเดิมเมื่อนำเงินได้หักภาษีที่ต้องชำระแล้ว แทบไม่เหลือเงินเลยจากอัตราภาษีที่สูง

การออกแบบให้เงินทุนเป็นการเพิ่มทุนเข้ามาใหม่ด้วยเป็นหุ้นที่ออกใหม่และส่วนเกินมูลค่าหุ้น ก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีภาระภาษีบุคคล การทยอยรับเงินเดือนจากบริษัทตามระยะเวลาการทำงาน เงินได้ก็จะเฉลี่ยไปตามปีที่รับ ดังนั้นก็จะมีภาระภาษีบุคคลต่อปีที่ต่ำกว่ารับมาครั้งเดียวและวิธีนี้ก็ทำให้เงินทุนยังอยู่กับบริษัทเพื่อการขยายธุรกิจ นักลงทุนถ้าจะทุบทิ้งก็ต้องคิดหนักนิดนึง แต่ก่อนจะทำการเพิ่มทุนด้วยวิธีนี้ต้องตรวจสอบว่าข้อบังคับบริษัทให้ทำได้ด้วย

โดยรวมแล้ว การทำความเข้าใจนักลงทุนที่จะมาเป็นผู้ถือหุ้นใหม่ให้ดีก่อน การมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญและการทำความเข้าใจและออกแบบสัญญาให้ปกป้องธุรกิจและผู้ถือหุ้นเดิมไว้ได้ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการระดมทุนนะคะ

"Hope for the best, prepare for the worst"

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการทำธุรกิจ แล้วพบกันที่ EP ต่อไปคะ

บริษัท แอ็คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์ จำกัด
096-2974566
Mon - Fri: 09.00 - 17.30
Park Silom ชั้น 14 ห้อง 1406 1 ถนน คอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ติดตามข่าวสาร