บทบาทนักบัญชีในโลกอนาคต… จากนักบัญชีสู่ นักบัญชีนวัตกร

บทบาทนักบัญชีในโลกอนาคต… จากนักบัญชีสู่ นักบัญชีนวัตกร


ในยุคที่กระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกำลังมาแรง การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรมไม่ว่าภาคการผลิตหรือภาคบริการเกิดขึ้นในทุกธุรกิจ มีคำกล่าวซึ่งถูกพูดกันบ่อยๆ คือ “AI จะมาทดแทนนักบัญชี” สำหรับผู้เขียนเมื่อได้ฟัง ก็เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่าจริงๆ แล้วบทบาทของนักบัญชีในโลกอนาคต ในภาวะที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างมากจะเป็นอย่างไร


 ย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่สมัยการทำบัญชีเริ่มต้นด้วยระบบบันทึกบัญชีด้วยมือ ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการค้นหาตัวเลขที่ไม่ดุล หรือการผ่านบัญชีด้วยสมุดบัญชีหลายๆเล่ม กว่าที่จะสามารถจัดทำงบการเงินได้ เมื่อเริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มมีการพัฒนาให้มีโปรแกรมบัญชีเพื่อให้การจัดทำบัญชีด้วยมือง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถช่วยผ่านรายการบัญชีไปยังบัญชีแยกประเภทและออกงบทดลองได้รวดเร็วขึ้น ปัญหาในการจัดทำงบการเงินที่ไม่ลงตัวก็ลดน้อยลง ยิ่งต่อมาเมื่อมีการพัฒนาโปรแกรมระบบบัญชีให้สามารถออกเอกสารทางการค้า เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญจ่ายได้แล้ว ก็สามารถเชื่อมโยงรายการค้ามายังรายการบัญชีด้วยการผูกผังบัญชีกับรายการค้า ช่วยลดเวลาในการบันทึกบัญชีได้มากขึ้น งานของนักบัญชีในช่วงเวลานั้นจะถูกทดแทนในการผ่านบัญชีและการจัดทำข้อมูลทางการเงินบางส่วนด้วยโปรแกรมบัญชี นักบัญชีก็จะมุ่งเน้นงานการตรวจสอบการบันทึกบัญชีกับเอกสารการค้า รวมถึงการคำนวณรายการปรับปรุงต่างๆ ที่ไม่ได้เชื่อมโยงโดยระบบเพื่อนำมาบันทึกบัญชี และจัดทำงบการเงินให้เสร็จสิ้น

 ในสมัยถัดมาเมื่อธุรกรรมทางการค้ามีความซับซ้อนขึ้น กระบวนการผลิตและการตัดสินใจทางธุรกิจต้องการการจัดสินใจที่แม่นยำ รวดเร็ว และทันต่อเวลา โปรแกรมสำหรับวางแผนบริหารธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ก็เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดทำข้อมูลในการวางแผน การขายสินค้า ระบบตุ้นทุนการผลิต และระบบควบคุมสินค้าคงเหลือ ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันแบบรวมศูนย์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจทางบัญชีที่สลับซับซ้อนถูกคำนวณโดยโปรแกรมซึ่งสามารถจัดเตรียมรายการปรับปรุงอัตโนมัติ เช่น การปรับปรุงต้นทุน งานของนักบัญชีจะถูกทดแทนในส่วนของการคำนวณที่ซับซ้อน และการจัดเตรียมรายการปรับปรุงบางส่วน หันไปมุ่งเน้นการควบคุมข้อมูลนำเข้าระบบ (Input) การตรวจสอบความถูกต้อง การตีความรายการค้า การวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของข้อมูลสารสนเทศและรบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน




จะเห็นได้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการทำงานและทดแทนงานของนักบัญชีอยู่ตลอดเวลา ยิ่งในปัจจุบันมีหลาย ๆ ผู้พัฒนาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เริ่มเอาเทศโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้การจัดทำบัญชี ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ว่จะเป็นการพัฒนาโปรแกรมให้ใช้บนระบบ Cloud ที่สามารถทำให้นักบัญชีจัดทำงานจากที่ไหนก็ได้ การใช้ความสามารถของเทคโนโลยีการรู้จดจำตัวอักษร (Optical Character Recognition : OCR) ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลจากเอกสารการค้ามาจัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบบัญชี บางผู้พัฒนาสามารถประยุกต์เอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาช่วยให้สามารถแปลงข้อมูลที่ถูกจัดเตรียมในรูปแบบของรายการบันทึกบัญชีโดยอาศัยการเรียนรู้จดจำรูปแบบของรายการค้าได้ มาบันทึกบัญชีอัตโนมัติได้ ในปัจจุบันโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้งานแยกส่วนกันสามารถส่งข้อมูลกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล (Application Programming Interface : API) ซึ่งทำให้การรับส่ง ข้อมูลระหว่างระบบงาน เสร็จในชั่วพริบตา ยิ่งในอนาคตกำลังจะมีการนำเทคโนโลยี บล็อคเชน (Blockchain) เข้ามาปรับใช้กับงานบัญชี การบันทึกบัญชีจะถูกทำรายการและบันทึกโดยอัตโนมัติ งานของนักบัญชีในอนาคตจะถูกทดแทนในส่วนของการตีความรายการค้าและบันทึกบัญชีอย่างแน่นอน

สิ่งที่นักบัญชีในโลกอนาคตต้องมีการปรับตัว คือ การทบทวนทักษะเพื่ออนาคต (Reskil) เพื่อให้ตอบความต้องการของโลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจและการตลาต ธุรกิจเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่จะมีโมเดลธุรกิจที่แปลกใหม่และชับช้อนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการตีความด้วยความเข้าใจและสามารถปรับเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจเข้ากับแม่บทหรือมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายการได้ นักบัญชีจะต้องมีความเข้าใจระบบสารสนเทศทางการบัญชีและเทศโนโลยีในระดับที่สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ทันกับระบบงานของลูกค้าและรูปแบบการปฏิบัติงานของนักบัญชีเองที่จะต้องมีการพัฒนาเทศโนโลยีเป็นส่วนร่วมมากขึ้นนอกจากทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) แล้ว ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) ก็จะเริ่มมีส่วนสำคัญในการประกอบอาชีพบัญชีไม่ว่าอยู่ในบทบาทใด เพราะงานบันทึกบัญชีในโลกอนาคตกำลังจะหายไปเหลือแต่การใช้ดุลยพินิจและวิเคราะห์ แต่การสื่อสารกับฝ่ายบริหารเพื่อนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากระบบงานจะต้องสามารถถูกนำไปสู่การปรับรูปแบบที่ตัดสินใจได้อย่างทันต่อเวลาและเข้าใจได้ การสื่อสารและทำงานกับเพื่อนร่วมงานข้ามวิชาชีพเพื่อการหาทางออกของปัญหา (Solution) ให้กับองค์กรจะมีส่วนสำคัญมากขึ้นในบางบทบาทนักบัญชีอาจต้องมีส่วนร่วมกับฝ่ายบริหารในการทำงานเชิงกลยุทธ์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และระบบงานขององค์กรในหน้าที่การสนับสนุนข้อมูลเชิงตัวเลขให้กับยุทธศาสตร์องค์กร จึงเห็นได้ว่านักบัญชีในโลกอนาคตนั้นนอกจากจะ Hi-Tech แล้ว จะต้อง Hi-Touch ด้วย

ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้กระทบแค่การปรับตัวของนักบัญชีแต่จะส่งผลไปถึงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ซึ่งอาจจะไม่จำกัดเฉพาะระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักบัญชีสามารถมีทักษะที่ใช้งานได้ในระดับ

ผู้ประกอบวิชาซีพทันทีเมื่อจบการศึกษา ในอนาคตนักบัญชีจะเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทั้ง การเงิน การบัญชี ระบบสารสนเทศทางการเงิน เทคโนโลยี และมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมที่หลากหลายจะเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกันจนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณค่าลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเป็นองค์ความรู้ใหม่ ส่งผลให้เกิด "นักบัญชีนวัตกร" ถึงเวลาที่นักบัญชีเราจะต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาวิชาซีพของเราเพื่อรองรับอนาคต การสร้างคนของโลกอนาตตเป็นภาระหน้าที่สำคัญของนักบัญชีในยุคปัจจุบันเพื่อเตรียมพร้อมให้เกิดการปรับตัวในคลื่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยเทศโนโลยีในครั้งนี้ เพื่อให้วิชาชีพนักบัญชีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญสำหร้โลกธุรกิจในอนาคตมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สิ่งที่นักบัญชีในโลกอนาคตต้องปรับตัว

RESKILL การทบทวนทักษะเพื่ออนาคต : ทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

HARDSKILL ทักษะด้านความรู้ : นักบัญชีจะต้องมีความเข้าใจระบบสารสนเทศทางการบัญชีและเทคโนโลยีในระดับที่สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ

SOFTSKILL ทักษะด้านอารมณ์ : สื่อสารและทำงานกับเพื่อนร่วมงานข้ามวิชาชีพเพื่อหาทางออกของปัญหา (Solution) ให้กับองค์กร



ในอนาคตนักบัญชี... จะเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน จนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณค่า ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเป็นองค์ความรู้ใหม่ ส่งผลให้เกิด “นักบัญชีนวัตกร” ...

บทความโดย: นายราชิต ไชยรัตน์

CEO CNR Group & AccRevo

กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชี


บริษัท แอ็คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์ จำกัด
096-2974566
Mon - Fri: 09.00 - 17.30
Park Silom ชั้น 14 ห้อง 1406 1 ถนน คอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ติดตามข่าวสาร